สถิติผู้เข้าชมเว็บ
วันนี้
73
เมื่อวาน
94
เดือนนี้
1,612
เดือนที่แล้ว
3,401
ปีนี้
9,840
ปีที่แล้ว
31,384

ค้นหาสมุนไพร
<< ย้อนกลับ


» ข้อมูลทั่วไปปอขี้ตุ่นใหญ่
ชื่อพื้นเมือง/ท้องถิ่น : ขี้อ้น
ชื่อสามัญ : ปอขี้ตุ่นใหญ่
ชื่อวิทยาศาสตร์ :

Helicteres lanata (Teism.& Binn.) Kurz


ชื่อวงศ์ : MALVACEAE

» ส่วนที่ใช้ : ราก
» วิธีการใช้ : ต้มดื่ม หรือ เคี้ยวอมในปาก
» ลักษณะวิสัยปอขี้ตุ่นใหญ่ :

เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ในป่าเต็งรัง มีลำต้นสูงประมาณ 10-15  เมตร เปลือกนอกลำต้น บางมีสีเทา ใบมีลักษณะเป็นวงรีปลายใบเรียวแหลม โคนใบรูปหัวใจเล็กน้อย ใบออกตรงข้าม ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ปลายใบคี่   ใบมีลักษณะอ่อน นุ่ม เนื่องจากมีขนสีน้ำตาลปกคลุม บริเวณผิวใบ ขอบใบเรียบ เห็นเส้นใบเป็นร่องเด่นชัด ใบมีความกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ดอก เป็นดอกช่อ ขนาดเล็ก ลักษณะผลสดสีเขียวออกเป็นพวง ผลเป็นรูปกลมรี ขนาดเล็ก คล้ายก้อนมูลสัตว์ คนในภาคอิสานจึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ขี้อ้น


» สรรพคุณ ปอขี้ตุ่นใหญ่ :

ใช้ราก เข้ายาต้ม แก้ไข้ ต้มกับเปลือกข่อย แก้รำมะนาด เหงือกบวม


» เสียง (Podcast) :
ผู้บันทึกเสียง จีราเดช ภิญโญศรี

วันที่ลงข้อมูล : 24/09/2563 14:30:19
จำนวนผู้เยี่ยมชม : 333 คน

รูปภาพเพิ่มเติม


* ไม่มีภาพ *