สถิติผู้เข้าชมเว็บ
วันนี้
75
เมื่อวาน
146
เดือนนี้
2,118
เดือนที่แล้ว
5,464
ปีนี้
32,128
ปีที่แล้ว
31,384

ค้นหาสมุนไพร
<< ย้อนกลับ


» ข้อมูลทั่วไปโลดทะนงแดง
ชื่อพื้นเมือง/ท้องถิ่น : นางแซ่ง
ชื่อสามัญ : โลดทะนงแดง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :

Trigonostemon reidioides (Kurz) Craib


ชื่อวงศ์ : EUPHORBIACEAE

» ส่วนที่ใช้ : ราก
» วิธีการใช้ : ฝนผสมกับน้ำดื่ม หรือ ฝนผสมเหล้า
» ลักษณะวิสัยโลดทะนงแดง :

ไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 50-95 เซนติเมตร มีรากเก็บสะสมอาหารใต้ดิน ผิวสีแดงอมม่วง เนื้อสีขาว ลำต้นเรียวเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นมีขนสั้นนุ่มหนาแน่น ใบเดี่ยวออก เรียงสลับ เนื้อใบหนา โคนใบมน ใบรูปขอบขนานหรือรี ใบกว้างประมาณ 2-4 เซนติเมตร ยาวประมาณ 6-12 เซนติเมตร ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม เห็นเส้นใบเด่นชัด และมีขนนุ่มหนาแน่นบนผิวใบทั้งสองด้าน ดอกเป็นดอกช่อแบบกระจะ ออกเป็นช่อตามซอกใบและตามกิ่ง กลีบดอกสีขาว กลีบเลี้ยงสีม่วงเข้ม ก้านช่อดอกยาว และก้านดอกย่อยแยกกระจายออก (http://www.phargarden.com/) ผลมีลักษณะกลมแบนเล็กน้อยมองเห็นเป็น 3 ซีกชัดเจน ผลอ่อนสีเขียวมีขนสีน้ำตาลขึ้นปกคลุม ผลแก่สีน้ำตาล 


» สรรพคุณ โลดทะนงแดง :

ใช้รากบดผสมทำแป้งข้าวหมาก แก้พิษสัตว์ แก้พิษเบื่อเมา ใช้แก้พิษสุราทำให้เลิกเหล้า


» เสียง (Podcast) : ยังไม่มีไฟล์เสียง
วันที่ลงข้อมูล : 24/09/2563 15:38:54
จำนวนผู้เยี่ยมชม : 1138 คน

รูปภาพเพิ่มเติม