<< ย้อนกลับ

อาจารย์วันวิสา ประมวล อาจารย์ชำนาญการพิเศษ สังกัดกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย พร้อมด้วยคณาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้จัดกิจกรรม PLC ในกลุ่มสาระฯและเปิดชั้นเรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน 6

» อาจารย์วันวิสา ประมวล อาจารย์ชำนาญการพิเศษ สังกัดกลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย พร้อมด้วยคณาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้จัดกิจกรรม PLC ในกลุ่มสาระฯและเปิดชั้นเรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน 6
ในวันที่ 2 มี.ค.64 ที่ผ่านมา อาจารย์วันวิสา ประมวล อาจารย์ชำนาญการพิเศษ สังกัดกลุ่มสาระ         การเรียนรู้ภาษาไทย พร้อมด้วยคณาจารย์กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้จัดกิจกรรม PLC ในกลุ่มสาระฯและเปิดชั้นเรียนรายวิชาภาษาไทยพื้นฐาน 6  สาระวรรณคดีและวรรณกรรม  เรื่องอิศรญาณภาษิต สำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/7 โดยได้จัดกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบศูนย์การเรียนรู้ ซึ่งแบ่งการเรียนรู้ออกเป็น 4 ศูนย์การเรียน และ 1 ศูนย์สำรอง และการใช้สื่อประสม อาทิ กระดานแม่เหล็ก บัตรภาพ เกมออนไลน์ แบบทดสอบออนไลน์ และสื่อออนไลน์ในรูปแบบการ Scan         QR Code การชมคลิปวีดีโอ  ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองไปพร้อมๆกับการทำกิจกรรมในแต่ละศูนย์การเรียนในการเรียนรู้ รวมถึงการเปลี่ยนบทบาทหน้าที่ของครูจากผู้สอนให้เป็นผู้ที่ให้คำแนะนำช่วยเหลือแก้ไขปัญหาให้กับนักเรียน ลดระยะเวลาในการเล่าเรื่องให้นักเรียนฟัง และเพื่อไม่ให้นักเรียนรู้สึกเบื่อหน่ายกับการอ่านวรรณคดีทั้งเรื่องเพียงอย่างเดียว และมีการสรุปบทเรียนที่เป็นกิจกรรมของนักเรียนและครูผู้สอนที่ได้ร่วมกันสรุปความรู้จากการเรียน
ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัฐพล อินต๊ะเสนา อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ  อ.ดร.วุฒิศักดิ์        บุญแน่น รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และ อาจารย์ ดร. คมกริช ชาญณรงค์  ร่วมสังเกตชั้นเรียนและสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ในครั้งนี้ ซึ่งสอดคล้องตามนโยบายการขับเคลื่อนชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ในสถานศึกษา นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ชวลิต ชูกำแพง ผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) ที่ได้มุ่งเน้นและสร้างการเปลี่ยนแปลงซึ่งครูต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติงานของกลุ่มครู ครูแต่ละคนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำหน้าที่  เพื่อทำงานร่วมกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนร่วมกันวางเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพในการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้นต่อไป

05/03/2564
ผู้ดูแลระบบ
1890