<< ย้อนกลับ

คณะ Supervisor Team โครงการ Innovation For Thai Education ( IFTE ) นวัตกรรมการศึกษา       เพื่อพัฒนาการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหาสารคาม ลงพื้นที่ปฏิบัติการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ระยะที่ 2

» คณะ Supervisor Team โครงการ Innovation For Thai Education ( IFTE ) นวัตกรรมการศึกษา เพื่อพัฒนาการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2566 ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหาสารคาม ลงพื้นที่ปฏิบัติการนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ระยะที่ 2
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 มิถุนายน 2566 เวลา 09.00 -12.00 น. คณะ Supervisor Teams Innovation For Thai Education ( IFTE ) ของสำนักงานศึกษาธิการจังหวัดหาสารคาม นำโดย ดร.กาญจนา  วิเศษรินทอง ศน.ชำนาญการพิเศษ พร้อมด้วย นางสาวพิกุล  ทองทิพย์ ศน.ชำนาญการพิเศษ ศธจ.มหาสารคาม อาจารย์วิษณุ ทุมมี รองผู้อำนวยการโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม อาจารย์สุกัญญา นนทมาตย์ และอาจารย์ ดร.วุฒิศักดิ์ บุญแน่น ได้ลงพื้นที่เพื่อนิเทศ ติดตาม และประเมินผล ระยะที่ 2 ในการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน ในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยในครั้งนี้ อาจารย์ ดร.ดวงทิพย์ ผโลปกรณ์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ได้เปิดชั้นเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และนำเสนอนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่เน้นกิจกรรมแบบ Active Learning ให้ผู้เรียนได้ร่วมคิด ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ร่วมแก้ปัญหา รายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง “สรุปเวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์” โดยใช้นวัตกรรมเกมส์การ์ดจับคู่เวลาและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผู้เรียนอธิบาย วิเคราะห์ เปรียบเทียบ การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ได้ และ อาจารย์ศศินันท์ ละวิสิทธิ์ อาจารย์ประจำกลุ่มสาระสุขศึกษาและพลศึกษา  ได้เปิดชั้นเรียน และนำเสนอนวัตกรรม “เครื่องหมายคณิต เพื่อสร้างความฟิตสมรรถภาพร่างกาย” ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวอลเลย์บอล ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง “การสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเฉพาะที่ด้วยอุปกรณ์รูปทรงเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์” (Math Symbols Training) พัฒนาความแข็งแรง ความคล่องแคล่วว่องไวของกล้ามเนื้อขา
ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยสิทธิ์ สิทธิเวช ผู้อำนวยการ พร้อมด้วย นางวันวิสา ประมวล      รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและวิจัย ได้ให้การต้อนรับและนำเสนอแนวคิดเชิงระบบในการบริหารด้านวิชาการ ภายใต้พันธกิจ “ยกระดับมาตรฐานครู สู่วิชาการที่เข้มแข็ง เสริมแกร่งสมรรถนะผู้เรียน”  ภายใต้ชื่อแนวคิดSATIT DMSU :  SMART SCHOOL MODEL (รูปแบบการบริหารงานโรงเรียนอัจฉริยะ) และร่วมประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อะสะท้อนผลในการนิเทศการสอน การพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนของอาจารย์ผู้สอน เพื่อนำมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพในการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไป
 

06/07/2566
ประชาสัมพันธ์
327