Page 47 - แผน4ปี67-70
P. 47

42


               การติดตามและประเมินผล

                       การติดตามประเมินผล ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม(ฝ่ายมัธยม)4 ปี
               (พ.ศ.2567-2570) มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการดำเนินงาน ได้กำหนดแนวทางในการติดตาม

               ประเมินผล ดังนี้

                       1. ระดับโรงเรียน จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปี เป็นการแปลงยุทธศาสตร์ลงสู่การปฏิบัติในระดับ
               ฝ่าย/งาน/กลุ่มสาระการเรียนรู้ และมีจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการโดยผู้บริหารสูงสุดหรือหัวหน้า หน่วยงาน

               เป็นผู้ลงนามคำรับรองการปฏิบัติราชการกับอธิการบดี ดำเนินการตามยุทธศาสตร์ เป้าหมายและตัวชี้วัด ที่กำหนด
               ไว้ในแผนฯ การกำกับติดตามการรายงานผลในระบบบริหารยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามทุกเดือน

               เพื่อที่จะทบทวน/ ปรับปรุงกลยุทธ์ให้เหมาะสม และ มีการประเมินผลเมื่อสิ้นสุดแผน เพื่อนำไปสู่การวางแผน

               พัฒนาโรงเรียนในระยะต่อไป โดยมหาวิทยาลัยจะดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการประเมินตรวจประเมินคณะ/
               หน่วยงานทุกสิ้นปีงบประมาณ

                       2. ระดับฝ่าย/งาน/กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการติดตามประเมินผล ดังนี้
                       2.1 ฝ่ายแผนและประกันคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อมูลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์เพื่อแจ้ง

               รายละเอียด ขั้นตอน และวิธีการในการรายงานผล แก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง กำหนดผู้รับผิดชอบการรายงานผลในแต่ละ

               ตัวชี้วัดและผู้กำกับติดตามการรายงานผล นำผลการดำเนินงานรายงานในระบบการบริหารงานยุทธศาสตร์
               มหาวิทยาลัยมหาสารคามทุกเดือน และรายงานผลการดำเนินงานในแต่ละเดือนต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร

               โรงเรียนเพื่อทราบและพิจารณาในการดำเนินการต่อไป

                       2.2 ฝ่าย/งาน/กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดำเนินการตามแผนกลยุทธ์หรือยุทธศาสตร์ที่ทางโรงเรียนได้จัดทำขึ้น
               และผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการบริหารโรงเรียนแล้ว โดยมีการกำหนดผู้รับผิดชอบในแต่ละตัวชี้วัด ผู้

               กำกับติดตาม การส่งข้อมูลการรายงานผลในแบบฟอร์มที่ทางโรงเรียนได้จัดทำขึ้นในทุกรอบเดือน เพื่อรายงานผล
               ต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียน

                       2.3 ระดับบุคคล มีการจัดทำแบบข้อตกลงภาระงานและพฤติกรรมการปฏิบัติราชการ (Term of

               Reference : TOR) โดยมีการกำหนดให้นำตัวชี้วัดในแผนปฏิบัติราชการในระดับมหาวิทยาลัย หรือในระดับคณะ/
               หน่วยงานมากำหนดเป็นตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติงานระดับบุคคล
   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52