Page 28 - คู่มือประเมิน-กพร-DMSU-65
P. 28

23



                     10. ข้อมูลสภาพชุมชนโดยรวม

                            1) สภาพชุมชนรอบบริเวณโรงเรียนมีลักษณะ เป็นชุมชนมหาวิทยาลัย โดยโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
                     มหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ซึ่งจัดการเรียนการสอนขั้นพื้นฐาน
                     ระดับมัธยมศึกษา และเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อสำนักงานอธิการบดี ตั้งอยู่ที่มอใหม่ (พื้นที่ขามเรียง) ดังนั้นสภาพ

                     ชุมชนโดยรอบโรงเรียนจึงเป็นคณะและหน่วยงานต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 17 คณะ2 วิทยาลัย 7

                     สำนัก และยังมีหน่วยงานย่อย ๆ ที่ทำหน้าที่สนับสนุนการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยอีกหลายหน่วยงานมี
                     ประชากรประมาณ 40,000 คน บริเวณใกล้เคียงโดยรอบโรงเรียน ได้แก่ สำนักงานอธิการบดี คณะมนุษยศาสตร์
                     และสังคมศาสตร์ คณะการบัญชีและการจัดการ หอพักนิสิต และอาคารพลศึกษา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา

                     พุทธ มีประเพณีและศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป คือ ชาวชุมชนจะดำเนินชีวิตและถือปฏิบัติตาม
                     จารีต 12 เดือน (ฮีต 12) ที่ชาวอีสานถือปฏิบัติมาแต่อดีต ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีเข้าพรรษา และ

                     ประเพณีลอยกระทง เป็นต้น
                            2) ผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี และผู้ปกครองส่วนหนึ่งเป็นบุคคลในมหาวิทยาลัย

                     อาชีพหลัก คือ รับราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย ค้าขาย และธุรกิจส่วนตัว ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ฐานะทาง
                     เศรษฐกิจซึ่งรายได้โดยเฉลี่ยต่อครอบครัว ต่อปี 100,000 - 500,000 บาท จำนวนคนเฉลี่ยต่อครอบครัว 5-7 คน

                            3) โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน
                              เนื่องจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) เป็นหน่วยงานที่อยู่ภายใต้การกำกับ
                     ดูแลของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จึงถือได้ว่ามีโอกาสในด้านการจัดการเรียนการสอนในหลายด้านด้วยกัน ดังนี้

                               3.1) ด้านบุคลากร โรงเรียนมีบุคลากรที่มีคุณภาพจากคณะต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยที่มาหนุนเสริม
                     การจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นวิทยากรพิเศษในโอกาสต่าง ๆ หรือเชิญ

                     มาเป็นอาจารย์พิเศษสอนในรายวิชา ได้แก่คณะวิทยาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะ
                     ศึกษาศาสตร์ และนอกจากนั้นแล้วบุคลากรของโรงเรียนเองก็ยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว มีพลังในการเรียนรู้และการ

                     ทำงานอย่างเต็มเปี่ยมจึงถือได้ว่าเป็นข้อดีของโรงเรียน
                               3.2) ด้านทรัพยากรและแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนสามารถร่วมใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยได้

                     เสมอเหมือนกับเป็นนิสิตของมหาวิทยาลัย ได้แก่ สำนักวิทยบริการ อาคารบริการกลางพลาซ่า พิพิธภัณฑ์เห็ดที่มี
                     ฤทธิ์ทางยา สระว่ายน้ำ สนามกีฬาและสวนสุขภาพ ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา สถาบันวิจัยและ

                     ศิลปวัฒนธรรมอีสาน สถาบันขงจื๊อ ศูนย์บริการทางการแพทย์ และหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีในมหาวิทยาลัย
                               3.3) ด้านบรรยากาศ โรงเรียนมีสภาพบรรยากาศเหมาะสมแก่การเรียนรู้ในระดับมัธยมศึกษาอีกทั้ง

                     บรรยากาศการจัดการเรียนของนิสิตยังเป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนมีความตื่นตัว และมีเป้าหมายอนาคตที่ดีจากการ
                     เห็นแบบอย่างที่ดีของพี่นิสิตในมหาวิทยาลัย
                               3.4) ด้านการบริหารจัดการ โรงเรียนมีหอพักในโรงเรียน และมีหอพักในกำกับดูแล โดยมีอาจารย์

                     หอพักดูแลและพักอยู่กับนักเรียน ให้คำปรึกษาตลอดจนสร้างเสริมทักษะการเรียนรู้ในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ทำให้
                     ผู้ปกครองเกิดความรู้สึกอุ่นใจเมื่อส่งบุตรหลานมาเรียนที่โรงเรียนสาธิต

                              แต่โรงเรียนก็มีข้อจำกัดบางประการที่ส่งผลกระทบต่อโรงเรียน เนื่องจากชุมชนมหาวิทยาลัยเป็น
                     แหล่งเรียนรู้ที่มีนิสิตอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้เกิดการขยายตัวของชุมชนรอบ ๆ มหาวิทยาลัย เกิดความ

                     แออัดของที่อยู่อาศัยพร้อม ๆ กับการขยายตัวของแหล่งอบายมุข ตลอดจนปัญหาด้านการจราจรและอุบัติเหตุ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33