Page 47 - 62-รายงานผลการประเมิน
P. 47
43
ระดับคุณภาพ กระบวนการทำงานและผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการศึกษาให้มีคุณภาพ
ตามมาตรฐานการศึกษาอย่างเป็นระบบทั้งองค์รวม มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
มาตรฐานที่ 1 คุณภาพของผู้เรียน
ระดับคุณภาพ : ดีเยี่ยม
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และ
กำหนดโครงการ/กิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในหลากหลายวิธีการ เช่น โครงการสัปดาห์วันวิทยาศาสตร์
โครงการสัปดาห์ภาษาไทยแห่งชาติ ส่งเสริมการแข่งขันทักษะทางวิชาการ การอ่านในวันสำคัญ เช่น วันพ่อ
วันแม่ วันไหว้ครู กิจกรรมวันคริสต์มาส กิจกรรมวันตรุษจีน กิจกรรมวันทานาบาตะ ส่งเสริมผู้เรียนเข้าร่วม
การแข่งขันงานศิลปหัตถกรรมผู้เรียน การบูรณาการตัวชี้วัดของการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์ และ
เขียนร่วมกับการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน แล้วนำผลการประเมินมาปรับปรุงแก้ไขความสามารถใน
การอ่าน คิดวิเคราะห์ การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ ตามรูปแบบและวิธีการที่กำหนดอย่าง
ต่อเนื่อง ดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ครอบคลุมทุกตัว
บ่งชี้ โดยใช้กระบวนการ PDCA ดังต่อไปนี้
กระบวนการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 1 ครูศึกษามาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษาของสถานศึกษาเพื่อนำมาวางแผนจัดทำกิจกรรม โครงการที่พัฒนา สนับสนุน ส่งเสริมคุณภาพ
ผู้เรียนให้ประสบผลสำเร็จตามค่าเป้าหมายที่โรงเรียนประกาศไว้
ขั้นตอนที่ 2 ครูจัดการเรียนรู้ จัดกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้ในโครงการของแผนปฏิบัติการ
ประจำปีการศึกษา 2562
ขั้นตอนที่ 3 ครูทุกคนร่วมกันประเมินคุณภาพผู้เรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์และคุณลักษณะที่พึง
ประสงค์ด้วยเครื่องมือวัดและประเมินผลที่หลากหลายให้ครบทุกตัวชี้วัด
ขั้นตอนที่ 4 ครูรายงานผลการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการจัดการ
เรียนการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ ตามโครงการ นำผลการจัดเรียนรู้ และการจัดกิจกรรม ความก้าวหน้าและ
ข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาใช้วางแผนปรับปรุงคุณภาพผู้เรียนต่อไป
1.1 ผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน
1) ความสามารถในการอ่าน การเขียน การสื่อสาร และการคิดคำนวณ
ค่า ระดับ 5 (ยอดเยี่ยม)
เป้าหมาย 1) ผู้เรียนได้รับผลการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์และการเขียน ในระดับดีและดีเยี่ยมไม่
น้อยกว่าร้อยละ 90 ทุกระดับชั้น
2) ผู้เรียนได้รับผลการประเมินสมรรถนะด้านความสามารถในการสื่อสาร ในระดับดีและดี
เยี่ยมไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ทุกระดับชั้น
3) ผู้เรียนได้รับผลการเรียนเฉลี่ยสะสมในรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ใน
ระดับดีขึ้นไป (2.51) ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ทุกระดับชั้น