Page 7 - แผน4ปี67-70
P. 7
2
ิ
การศึกษาวเคราะห์นโยบายระดับชาติ และแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคามเพื่อการแปลงนโยบายสู่
การปฏิบัติ
การศึกษาและวิเคราะห์นโยบายเกี่ยวกับการจัดการศึกษา มีความสำคัญในการนำมาจัดทำแผน
ยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นแนวทางในการบริหารจัดการและพัฒนาการจัดการศึกษา
ให้บรรลุวัตถุประสงค์สอดคล้องกับนโยบายการจัดการศึกษาของประเทศ โรงเรียนสามารถกำหนดแผนงาน
โครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่สามารถตอบสนองต่อแผนพัฒนาการศึกษาได้อย่างเหมาะสม ครอบคลุม และตรงตาม
วัตถุประสงค์ที่คาดหวังและบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ ทักษะชีวิต ที่สอดคล้องกับการ
เปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 บุคลากรในโรงเรียนสามารถวางรูปแบบการจัดการเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพตรง
กับความต้องการของผู้เรียนและสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป
ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) 4 ปี (พ.ศ.
2567-2570) นั้น คณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาวิเคราะห์นโยบายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับชาติ ทั้งที่เป็น
นโยบายที่ถูกระบุไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ฉบับที่ 20) แผนยุทธศาสตร์ชาติ
(พ.ศ. 2561-2580) และ แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2565-2569)
เพื่อนำไปสู่ขั้นตอนการแปลงนโยบายสู่แผนงาน โครงการ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
นโยบายการศึกษาระดับชาติ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 (ฉบับที่ 20)หมวด 5 หน้าที่ของรัฐ มาตรา 54
ุ
ความว่า“ รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบการศึกษาภาค
บังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่ายรัฐต้องดำเนินให้เด็กเล็กได้รับการดูแลและพัฒนาก่อนเข้ารับการศึกษา
ตามวรรคหนึ่ง เพื่อพัฒนาร่างกาย จิตใจ วินัย อารมณ์ สังคม และสติปัญญาให้สมกับวัย โดยส่งเสริมและสนับสนุน
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการดำเนินด้วย รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับ
การศึกษาตามความต้องการในระบบต่างๆ รวมทั้งส่งเสริม ให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกัน
ระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ โดยรัฐมีหน้าที่ดำเนินการ
กำกับ ส่งเสริม และสนับสนุนให้การจัดการศึกษา ดังกล่าวมีคุณภาพและได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้ ตามกฎหมายว่า
ด้วยการศึกษาแห่งชาติซึ่งอย่างน้อย ต้องมีบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดทำแผนการศึกษาแห่งชาติ และการดำเนินการ
และตรวจสอบการดำเนินการ ให้เป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติด้วย
การศึกษาทั้งปวงต้องมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ สามารถเชี่ยวชาญได้ ตามความถนัด
ของตน และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในการดำเนินการให้เด็กเล็กได้รับการ
ดูแลและพฒนาตามวรรคสอง หรือให้ประชาชนได้รับ การศึกษาตามวรรคสามรัฐต้องดำเนินการให้ผู้ขาดแคลนทุน
ั
ทรัพย์ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการศึกษา ตามความถนัด