Page 23 - คู่มือประเมิน-กพร-DMSU-65
P. 23
ตัวชี้วัด 1.3.1) ร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ตาม
ความคาดหวัง
ประเภทตัวชี้วัด : เชิงปริมาณ
ประเภทหน่วยนับ : ร้อยละ
หน่วยนับ : ร้อยละ
คำอธิบาย :
นักเรียนที่สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ปี
การศึกษาก่อนปีงบประมาณนี้ 1 ปี ที่จบหลักสูตรการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของโรงเรียนในทุก
แผนการเรียน และศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
เกณฑ์การเปรียบเทียบคณะ/สาขาที่เลือกเรียนกับคณะ/สาขาที่เป็นความคาดหวัง ต้องตรงกับข้อใด
ข้อหนึ่งดังต่อไปนี้
1) นักเรียนแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
2) คณะ/สาขา ที่ตรงกับสาขาหลักสูตรที่นักเรียนเลือกเรียนในระดับ ม. 5-6
3) คณะ หรือสาขาตรงกันกับที่แจ้งไว้
4) คณะ หรือสาขาที่มีจบแล้วได้วุฒิทางการศึกษาตรงกัน เช่น คณะศึกษาศาสตร์ และคณะครุศาสตร์
5) คณะ หรือสาขาที่วิชาหรือเนื้อหาสอดคล้องกัน เช่น คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยี
สารสนเทศ กับคณะวิทยาการสารสนเทศ สาขาการจัดการสารสนเทศ
6) คณะ หรือสาขาที่จบแล้วสามารถประกอบอาชีพใกล้เคียงกัน เช่น คณะแพทยศาสตร์ กับ คณะ
ทันตแพทยศาสตร์ คณะบัญชีและการจัดการ กับ คณะบริหารธุรกิจ เป็นต้น
สูตรคำนวณ : ร้อยละของนักเรียนระดับชั้น ม. 6 ที่สามารถเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในคณะหรือสาขาที่
คาดหวัง
จำนวนนักเรียน ม. 6 ที่สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ในคณะ
หรือสาขาที่ตรงกับความคาดหวัง × 100
จำนวนนักเรียน ม. 6 ทั้งหมด
เกณฑ์การให้คะแนน
คะแนน เกณฑ์การให้คะแนน
0 นักเรียน ม.6 สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ตามคณะ/สาขาที่คาดหวังร้อยละ 55 ขึ้นไป
1 นักเรียน ม.6 สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ตามคณะ/สาขาที่คาดหวังร้อยละ 60 ขึ้นไป
2 นักเรียน ม.6 สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ตามคณะ/สาขาที่คาดหวังร้อยละ 65 ขึ้นไป
3 นักเรียน ม.6 สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ตามคณะ/สาขาที่คาดหวังร้อยละ 70 ขึ้นไป
4 นักเรียน ม.6 สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ตามคณะ/สาขาที่คาดหวังร้อยละ 75 ขึ้นไป
5 นักเรียน ม.6 สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ตามคณะ/สาขาที่คาดหวังร้อยละ 80 ขึ้นไป
19