Page 41 - คู่มือประเมิน-กพร-DMSU-65
P. 41
ตัวชี้วัด 4.1.4 ร้อยละของรายการที่มีการเบิกจ่ายเงินกันเหลื่อมปี (ตัวชี้วัดร่วม)
ประเภทหน่วยนับ : จำนวน
หน่วยวัด : ร้อยละ
คำอธิบาย :
“การกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปี” หมายถึง จำนวนเงินที่หน่วยงานก่อหนี้ผูกพันไว้ก่อนสิ้นปีงบประมาณ
โดยการซื้อ การจ้าง หรือการเช่าครั้งหนึ่งรายหนึ่งเป็นเงินตั้งแต่ห้าหมื่นบาทขึ้นไป แต่ไม่สามารถเบิกเงินไป
ชำระหนี้ผูกพันได้ภายในสิ้นปี
- เป็นตัวชี้วัดร่วม พิจารณาจากรายการเบิกจ่ายเงินกันเหลื่อมปีของคณะ/หน่วยงาน
สูตรคำนวณ
รายการเบิกจ่ายเงินเหลื่อมปี
X100
รายการเงินกันเหลื่อมปีทั้งหมด
หมายเหตุ คิดคำนวนรายการตามงวดงานที่ผูกพันในปีงบประมาณ
เกณฑ์การให้คะแนน :
คะแนน เกณฑ์การให้คะแนน คำอธิบายเกณฑ์
0 50 รายการที่มีการเบิกจ่ายเงินกันเหลื่อมปี ร้อยละ 50
1 60 รายการที่มีการเบิกจ่ายเงินกันเหลื่อมปี ร้อยละ 60
2 70 รายการที่มีการเบิกจ่ายเงินกันเหลื่อมปี ร้อยละ 70
3 80 รายการที่มีการเบิกจ่ายเงินกันเหลื่อมปี ร้อยละ 80
4 90 รายการที่มีการเบิกจ่ายเงินกันเหลื่อมปี ร้อยละ 90
5 100 รายการที่มีการเบิกจ่ายเงินกันเหลื่อมปี ร้อยละ 100
รายงานผลคณะ/หน่วยงาน
หน่วยงานไม่ต้องรายงานผลการประเมินตนเองในระบบบริหารยุทธศาสตร์ (กองคลังและพัสดุเป็น
เจ้าภาพรายงานในระบบยุทธศาสตร์)
การดำเนินงานของเจ้าภาพ :
กองคลังและพัสดุรายงานผลในระบบบริหารยุทธศาสตร์ให้ทุกคณะ/หน่วยงาน (ทุกไตรมาส)
ข้อมูลที่ต้องรายงาน : รายการเบิกจ่ายเงินกันเหลื่อมปีจากรายการเงินกันเหลื่อมปีทั้งหมด ของปีงบประมาณ
พ.ศ.2564
ผู้กำกับดูแลตัวชี้วัด :
KPI Owner : คณะ/หน่วยงาน
Data Owner : กองคลังและพัสดุ
37