Page 86 - คู่มือประเมิน-กพร-DMSU-64
P. 86

คู่มือประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการ  พ.ศ. 2564



               ตัวชี้วัด 4.2.3) ระดับความสำเร็จของการค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี

               ประเภทตัวชี้วัด : ขั้นตอนการดำเนินงาน

               หน่วยวัด : ระดับความสำเร็จ
               คำอธิบาย :

                       การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) หมายถึง การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ใน อง

               กรณ์ซึ่งจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล หรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้

               และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถ ในเชิง
               แข่งขัน สูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ

                       1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์ หรือสัญชาติ

               ญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลาย

               ลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้

               แบบนามธรรม
                       2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้โดยผ่านวิธีต่างๆ

               เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

               โดยกระบวนการในการบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงานประกอบด้วย การระบุความรู้ การคัดเลือก การ รวบรวม

               การจัดเก็บความรู้การเข้าถึงข้อมูล และการแลกเปลี่ยนความรู้ทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน การสร้าง

               บรรยากาศและวัฒนธรรมการเรียนรู้ ภายในหน่วยงานการกำหนดแนววิธีปฏิบัติงาน ตลอดจนการใช้เทคโนโลยี

               สารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการความรู้ในหน่วยงานให้ดียิ่งขึ้น


               เกณฑ์การประเมิน :

                                                     เกณฑ์การให้คะแนน


                        1                  2                   3                  4                5


                 ระดับ 1           ระดับ 2            ระดับ 3              ระดับ 4          ระดับ 5

               ระดับ 1 มีการกำหนดประเด็นความรู้ และเป้าหมายของการจัดการความรู้ที่สอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของ
               หน่วยงานและสอดคล้องกับพันธกิจหลัก

               ระดับ 2 มีการกำหนดบุคลากรกลุ่มเป้าหมายที่จะพัฒนาความรู้และทักษะอย่างชัดเจนตามประเด็นความรู้ที่

               กำหนดในข้อ 1






                                                                                                           57
   81   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91