Page 92 - คู่มือประเมิน-กพร-DMSU-64
P. 92
คู่มือประเมินผลการปฏิบัติราชการตามแผนปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2564
และรายการที่กำหนด ผ่านระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) เพื่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) รวบรวมและประมวลผลเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี นั้น
ดังนั้น เพื่อให้การรายงานผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหาสารคามเป็นไปตามแนวทาง ของ
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดตัวชี้วัด ระดับ
ความสำเร็จในการรายงานในผลการดำเนินงานในระบบกำกับติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR) ขึ้น
เพื่อเป็นเครื่องมือในการรวบรวมผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย โดยให้คณะ/หน่วยงาน (คณะ/หน่วยงาน)
รายงานผลการดำเนินงานโครงการต่าง ๆ ในระบบดังกล่าวให้ครบถ้วน เพื่อมหาวิทยาลัยพิจารณาอนุมัติข้อมูลจาก
คณะ/หน่วยงาน ก่อนนำส่งผลการดำเนินงานดังกล่าวในนามของมหาวิทยาลัย
การกำหนดจำนวนโครงการที่ต้องรายงานผลในระบบกำกับติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR)
1. หน่วยงานจัดการเรียนการสอน (ระดับอุดมศึกษา) ให้รายงานผลในระบบกำกับติดตามฯ
(eMENSCR) อย่างน้อย 5 โครงการ
2. หน่วยงานจัดการเรียนการสอน (ระดับขั้นพื้นฐาน) ให้รายงานผลในระบบกำกับติดตามฯ ตาม
โครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติราชการมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
3. หน่วยงานสถาบัน-สำนัก-ศูนย์-หน่วยงานเทียบเท่าคณะ ให้รายงานผลในระบบกำกับติดตามฯ
(eMENSCR) อย่างน้อย 5 โครงการ
4. หน่วยงานสังกัดสำนักงานอธิการบดี (กอง-ศูนย์-สำนัก) ดำเนินการดังนี้
4.1 กรณีหน่วยงานมีโครงการ/กิจกรรมตามแผนปฏิบัติราชการมหาวิทยาลัย
มหาสารคาม ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ให้รายงานข้อมูลในระบบกำกับติดตามฯ (eMENSCR)
4.2 กรณีหน่วยงาน ไม่มี ให้รายงานผลในระบบกำกับติดตามฯ (eMENSCR) อย่างน้อย
1 โครงการ
ทั้งนี้ กรอบโครงการที่จะใช้ในการรายงานประกอบด้วย
1. โครงการตามแผนปฏิบัติราชการประจำปีของมหาวิทยาลัย
2. โครงการอื่น ๆ ที่คณะ/หน่วยงานได้รับเงินสนับสนุนจากแหล่งงบประมาณต่าง ๆ เช่น โครงการตาม
แผนปฏิบัติราชการ งบนโยบายอธิการบดี งบประมาณเงินแผ่นดิน เงินรายได้ และงบประมาณที่ได้รับ
การสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
เงื่อนไข 1. ทุกโครงการต้องรายงานผลผ่านระบบติดตามและประเมินผลแห่งชาติ (eMENSCR)
2. ทุกโครงการต้องรายงานผลการดำเนินงานทุกขั้นตอน (M1-M6) ในระบบฯ ให้ครบถ้วน ถูกต้อง
ทุกขั้นตอน
63