Page 75 - 62-รายงานผลการประเมิน
P. 75
71
ขั้นตอนที่ 3 มีการนิเทศติดตามการใช้หลักสูตร ด้วยการตรวจเยี่ยม สังเกตการณ์ในชั้นเรียน การ
เสนอแนะ การตรวจแผนการจัดการเรียนรู้ การบันทึกหลังการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีการ
ติดตามการใช้หลักสูตรทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้และสรุปผลทุกสิ้นปีการศึกษา
ขั้นตอนที่ 4 คณะกรรมการพัฒนาหลักสูตรนำผลการใช้และประเมินหลักสูตรมารายงานและใช้
เป็น ข้อมูลมาในการพัฒนาสูตรสถานศึกษาให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนต่อไป
ผลการดำเนินงาน
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม) มีผลจากการดำเนินงานพัฒนาวิชาการที่
เน้นคุณภาพผู้เรียนรอบด้านตาม หลักสูตรสถานศึกษาและทุกกลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุมทุกประเด็น ดังนี้
ประเด็นที่ 1 มีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่อง และมีความหลากหลาย ในการจัด
การศึกษาของสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยจัดให้มีการปรับปรุงหลักสูตรตามหลักสูตร
แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560 โดยจัดทำเป็นรูปเล่มพิมพ์เป็นเล่มหลักสูตร
สถานศึกษาฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563 และมีการจัดหลักสูตรที่หลากหลาย ดังนี้
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
-ห้องเรียนพิเศษ โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนที่มีความสามารถ
พิเศษด้านวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ (GIFTED PROGRAM :
Science English and Mathematics (SEM))
-ห้องเรียนปกติ
ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
-ห้องเรียนพิเศษ โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนที่มีความสามารถ
พิเศษด้านคณิตศาสตร์ -วิทยาศาสตร์ (GIFTED PROGRAM :
Mathematics – Science)
-ห้องเรียนพิเศษ โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนที่มีความสามารถ
พิเศษด้านภาษาอังกฤษ- ภาษาต่างประเทศ (GIFTED PROGRAM :
English)
-ห้องเรียนพิศษ โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในการกำกับดูแลของ
มหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.)
-แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
-แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
-แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์วิศวกรรม
-แผนการเรียนภาษาอังกฤษ-ภาษาจีน/ญี่ปุ่น/ฝรั่งเศส
และมีการจัดอบรมพัฒนาหลักสูตรร่วมโรงเรียนสาธิต – วมว
ประเด็นที่ 2 มีการสนับสนุนทุนวิจัยแก่บุคลากร เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในห้องเรียน และ
สร้างองค์ความรู้ใหม่ในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ โดยโรงเรียนจัดให้มีการสนับสนุนงบประมาณ