Page 35 - คู่มือประเมิน-กพร-DMSU-65
P. 35
ตัวชี้วัด 3.2.1) ระดับความสำเร็จของหลักสูตรความเป็นเลิศทางด้านวิชาชีพ
ประเภทตัวชี้วัด : ขั้นตอนการดำเนินงาน
หน่วยนับ : ระดับความสำเร็จ
คำอธิบาย :
หลักสูตรความเป็นเลิศทางด้านวิชาชีพ หมายถึง หลักสูตรของชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่จัดให้มีการ
ส่งเสริมความรู้ความสามารถเพื่อเป็นพื้นฐานในการเข้าศึกษาต่อในสายอาชีพที่นักเรียนต้องการเป็น ได้แก่
1. หลักสูตรส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ จำนวน 2 หลักสูตร ดังนี้
- หลักสูตรโครงการส่งเสริมศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ (Science – Mathematics Gifted)
- หลักสูตรห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในกำกับของมหาวิทยาลัย (วมว.)
2. หลักสูตรทั่วไปด้านวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ จำนวน 3 หลักสูตร ดังนี้
- หลักสูตรทั่วไป ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- หลักสูตรทั่วไป ด้านวิศวกรรมศาสตร์
- หลักสูตรทั่วไป ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วไป
3. หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพผู้มีความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษ จำนวน 1 หลักสูตร
- หลักสูตรส่งเสริมศักยภาพผู้มีความสามารถพิเศษด้านภาษาอังกฤษ (English Gifted)
4. หลักสูตรทั่วไปด้านภาษา จำนวน 1 หลักสูตร
สาขาวิชาที่สอบได้กับความสอดคล้องต่อหลักสูตร หมายถึง การเปรียบเทียบคณะหรือสาขาวิชาที่
นักเรียนสอบได้ระดับอุดมศึกษา กับสาขาที่นักเรียนเรียนอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่โรงเรียนจัดขึ้น
การวิเคราะห์ความสอดคล้องสาขาวิชาที่นักเรียนสอบได้ หลักสูตรที่ตนเองได้รับการศึกษาในระดับ มัธยมศึกษา
ตอนปลาย เพื่อตรวจสอบว่าการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรที่ได้จัดไว้ให้นักเรียน ได้ส่งเสริมผู้เรียน ไอ้
รับการเข้าเรียนหรือได้รับการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่ตนเองคาดหวัง ได้หรือไม่ อันจะเป็นข้อมูลหนึ่ง
เพื่อนำไปพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรให้ดียิ่งขึ้นไป
เกณฑ์การประเมิน :
เกณฑ์การให้คะแนน
1 2 3 4 5
ระดับ 1 ระดับ 2 ระดับ 3 ระดับ 4 ระดับ 5
ระดับ 1 มีคณะทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรความเป็นเลิศทางด้านวิชาชีพ
ระดับ 2 มีแผนการดำเนินงานตามหลักสูตรความเป็นเลิศทางด้านวิชาชีพ
ระดับ 3 ดำเนินการตามแผน
ระดับ 4 มีการกำกับและติดตามผลการดำเนินงาน
ระดับ 5 มีผลสำรวจร้อยละของผู้เรียนที่สอบได้สาขาและคณะที่สอดคล้องกับหลักสูตรไม่น้อยกว่าร้อย
ละ 80
31