Page 11 - รายละเอียดตัวชี้วัด.indd
P. 11

8  ๘



               รายละเอียดตัวชี้วัดตามค ารับรองการปฏิบัติราชการ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๓


                              โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)


            ส่วนที่ ๑ ภารกิจ/ยุทธศาสตร์ของหน่วยงาน

            ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การพัฒนาระบบการเรียนการสอน

            ค าอธิบาย :


                    มุ่งพัฒนาการสร้างสรรค์ระบบการจัดการเรียนการสอนให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ ที่เอื้อต่อการ
            พัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยการสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional

            Learning Community) ที่อาศัยกระบวนการศึกษาชั้นเรียน (Lesson study) เป็นหลัก โดยครูจะได้มีโอการ
            เปิดชั้นเรียนพัฒนาการเรียนการสอนร่วมกันและการสะท้อนคิดจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทรงพลังในยุค

            แห่งการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ ๒๑ การใช้ข้อสอบมาตรฐานกลางของโรงเรียนในการวัดและประเมินผล

            การออกแบบการแข่งขันความเป็นเลิศ การสร้างต ารา หนังสือเรียนที่มีคุณภาพ ตลอดจนการพัฒนาการบูรณา
            การภาษาอังกฤษในการเรียนต่าง ๆ ในทุกห้องเรียน


            ตัวชี้วัด ๑.๑.๑ ร้อยละของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ที่สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ได้ตาม

            ความคาดหวัง (สาธิต ต ๑.๓.๑)
            หน่วยวัด : ร้อยละ


                ค าอธิบาย  :

                นักเรียนที่สามารถเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ หมายถึง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ปี
            การศึกษาก่อนปีงบประมาณนี้ ๑ ปี ที่จบหลักสูตรการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ของโรงเรียนในทุก

            แผนการเรียน และศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา

                เกณฑ์การเปรียบเทียบคณะ/สาขาที่เลือกเรียนกับคณะ/สาขาที่เป็นความคาดหวัง ต้องตรงกับข้อใด
            ข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

                      1) นักเรียนแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร
                      2) คณะ/สาขา ที่ตรงกับสาขาหลักสูตรที่นักเรียนเลือกเรียนในระดับ ม. ๕-๖

                      3) คณะ หรือสาขาตรงกันกับที่แจ้งไว้
                      4) คณะ หรือสาขาที่มีจบแล้วได้วุฒิทางการศึกษาตรงกัน เช่น คณะศึกษาศาสตร์ และคณะครุ
                          ศาสตร์

                      5) คณะ หรือสาขาที่วิชาหรือเนื้อหาสอดคล้องกัน เช่น คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเทคโนโลยี
                          สารสนเทศ กับคณะวิทยาการสารสนเทศ สาขาการจัดการสารสนเทศ

                      6) คณะ หรือสาขาที่จบแล้วสามารถประกอบอาชีพใกล้เคียงกัน เช่น คณะแพทยศาสตร์ กับ คณะ
                          ทันตแพทยศาสตร์ คณะบัญชีและการจัดการ กับ คณะบริหารธุรกิจ เป็นต้น


                สูตรค านวณ : ร้อยละของนักเรียนระดับชั้น ม. ๖ ที่สามารถเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในคณะ/สาขา

            ที่คาดหวัง
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16