Page 73 - คู่มือประเมิน-กพร-DMSU-65
P. 73
68
4) พัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
เป้าหมาย
ระดับ 5 (ยอดเยี่ยม) บุคลากรร้อยละ 90 ขึ้นไป ได้รับการพัฒนาให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
โรงเรียนพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพสถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุน พัฒนา ครู
บุคลากร ให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางาน และการ
เรียนรู้ของผู้เรียนโดยใช้กระบวนการ PDCA ดังต่อไปนี้
กระบวนการ
ขั้นตอนที่ 1 สำรวจความต้องการพัฒนาครูและบุคลากรของโรงเรียน และเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ
การพัฒนาครูและบุคลากร
ขั้นตอนที่ 2 วางแผนในการพัฒนาบุคลากรโดยการกำหนดขอบข่ายของการพัฒนากำลังคน กำหนด
วัตถุประสงค์เป้าหมาย ขั้นตอนในการดำเนินงาน และแผนการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอน โดยมีการแต่งตั้ง
คณะกรรมการในการพัฒนาบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ
ขั้นตอนที่ 3 การดำเนินการพัฒนาบุคลากร ตามปฏิทินการปฏิบัติงานที่กำหนดตามแผนปฏิบัติ การ
โรงเรียน เช่น โครงการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาในการส่งเสริมการเข้ารับการอบรม ประชุม สัมมนา
และศึกษาดูงาน การจัดทำแผนพัฒนาตนเอง (ID PLAN) กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ ทางวิชาชีพ (PLC) และการ
อบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเลื่อนตำแหน่งวิชาการ
ขั้นตอนที่ 4 การติดตามและประเมินผลการพัฒนาบุคลากรเป็นระยะ ๆ คือ การติดตามและ ประเมินผล
ในระหว่างดำเนินการพัฒนาบุคลากร และการประเมินผลหลังจากเสร็จสิ้นการพัฒนาบุคลากรหรือ หลังจากสิ้นสุด
โครงการ เพื่อนำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาต่อไป
ผลการดำเนินงาน
จากการดำเนินการพัฒนาครูและบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพ และจัดให้มีชุมชนการเรียนรู้
ทางวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนางานและการเรียนรู้ส่งผลดังต่อไปนี้
- การพัฒนาตนเองผ่านการสอนร่วมกัน (PLC)
- โครงการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร (เสริมสร้างกำลังใจเพื่อผลสัมฤทธิ์ในการ
ปฏิบัติงาน)
- โครงการยกย่องเชิดชูเกียรติชาวสาธิต มมส.
- โครงการคลินิกวิจัยในโรงเรียน
- การจัดโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาองค์กร KM พัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานของ
บุคลากร เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 63 มีผู้เข้าร่วมโครงการคิดเป็นร้อยละ 100