Page 564 - หลักสูตรสถานศึกษาปีการศึกษา 2563
P. 564

หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  (ฝ่ายมัธยม)                                      ปีการศึกษา 2563


                   รายละเอียดของวิธีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง

                           1. การสังเกต  (Observe)
                   การสังเกตท าให้สามารถเรียนรู้เรื่องราวของผู้เรียนแต่ละคนได้ แต่การสังเกตที่ไม่ได้มีการเตรียมการใน
                   รายละเอียดต่าง ๆ หรือใช้วิธีการที่ไม่ดีก็จะท าให้ขาดความเชื่อมั่นได้ การใช้วิธีสังเกตโดยตรงท าให้ได้
                   ข้อมูลที่ดี และในการสังเกตจะต้องเลือกว่าจะสังเกตตามกรอบที่ก าหนดไว้  หรือไม่ต้องมีกรอบ

                             การสังเกตตามกรอบ  จะประกอบด้วยองค์ประกอบต่อไปนี้
                               1.  ต้องก าหนดจุดประสงค์ที่ต้องการวัด
                               2.  เครื่องมือที่ใช้บันทึกข้อมูลการสังเกต  อาจใช้ตั้งแต่การบันทึกพฤติกรรม
                   จนกระทั่งมาตราส่วนประมาณค่า  (Rating  Scale)

                               3.  รายการสังเกตอาจจะแจ้งให้ผู้เรียนทราบหรือไม่ก็ได้  แต่ผู้สังเกตต้องมีการ
                   วางแผนเป็นอย่างดี
                               4.  ต้องเจาะจงผู้เรียนที่คิดไว้แล้วว่าจะสังเกตใคร
                             การสังเกตไม่มีกรอบ  ควรจะมีลักษณะดังนี้

                               1.  ไม่ต้องระบุจุดประสงค์ของการสังเกต
                               2.  เพียงแต่ใช้คู่มือเพื่อบันทึกข้อมูลต่าง ๆ ในกระดาษเปล่า
                               3.  อาจจะสังเกตผู้เรียนคนใดก็ได้  ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ในขณะสังเกต

                   อาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ได้
                           2. การสัมภาษณ์  (Interview)
                             การสัมภาษณ์เป็นวิธีการที่ดีที่สุด ท าให้รู้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตอนที่ท่านไม่ได้สังเกต
                   ด้วยตนเองนั้นเหตุการณ์เป็นอย่างไร การสัมภาษณ์สามารถใช้ได้อย่างกว้างขวาง เช่น อาจสัมภาษณ์
                   ความคิดของผู้เรียนเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างที่อยู่ในสถานการณ์เดียวกัน

                           3.  การวัดและประเมินผลด้านความสามารถ  (Performance  Assessment)
                             ความสามารถของผู้เรียนประเมินได้จากการแสดงออกโดยตรงจากการท างานต่าง ๆ
                   เป็นสถานการณ์ที่ก าหนดให้ซึ่งเป็นของจริงหรือใกล้เคียงกับสภาพจริง และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้

                   แก้ปัญหาหรือปฏิบัติงานได้จริง โดยประเมินจากกระบวนการท างาน  กระบวนการคิด  โดยเฉพาะ
                   ความคิดขั้นสูง  และผลงานที่ได้
                             ลักษณะส าคัญของการประเมินความสามารถ คือ ก าหนดวัตถุประสงค์ของงาน วิธีการ
                   ท างาน ผลส าเร็จของงาน มีค าสั่งควบคุมสถานการณ์ในการปฏิบัติงานและมีเกณฑ์การให้คะแนนที่

                   ชัดเจน การประเมินความสามารถที่แสดงออกของผู้เรียนท าได้หลายแนวทางต่าง ๆ กัน ขึ้นอยู่กับ
                   สภาพแวดล้อมสภาวการณ์  และความสนใจของผู้เรียน  ดังตัวอย่างต่อไปนี้
                               1.  มอบหมายงานให้ท า งานที่มอบให้ท าต้องมีความหมาย  มีความส าคัญ
                   มีความสัมพันธ์กับหลักสูตร  เนื้อหาวิชา  และชีวิตจริงของผู้เรียน  ผู้เรียนต้องใช้ความรู้หลายด้านใน

                   การปฏิบัติงานที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการท างาน  และการใช้ความคิดอย่างลึกซึ้ง
                               2.  การก าหนดชิ้นงานหรืออุปกรณ์หรือสิ่งประดิษฐ์ให้ผู้เรียนวิเคราะห์องค์ประกอบ
                   และกระบวนการท างาน  และเสนอแนวทางเพื่อพัฒนาให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
                               3 ก าหนดตัวอย่างชิ้นงานให้   แล้วให้ผู้เรียนศึกษางานนั้นและสร้างชิ้นงานที่มี

                   ลักษณะของการท างานได้เหมือนหรือดีกว่าเดิม  เช่น  การประดิษฐ์เครื่องร่อน  การท าสไลด์ถาวร
                   ศึกษาเนื้อเยื่อพืช  การท ากระดาษจากพืชในท้องถิ่น  ฯลฯ



                                                                                                        563
                                           งานหลักสูตรสถานศึกษา ฝ่ายวิชาการและวิจัย  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม (ฝ่ายมัธยม)
   559   560   561   562   563   564   565   566   567   568   569