Page 84 - คู่มือประเมิน-กพร-DMSU-65
P. 84
79
พัฒนาและปรับปรุงการจัดการเรียนรู้ มีการใช้เครื่องมือและวิธีการวัด และประเมินผลที่เหมาะสมกับ
เป้าหมายในการจัดการเรียนรู้ ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียน และนำผลมาพัฒนาผู้เรียน
ทั้งนี้โดยรวมการดำเนินงานคลอบคลุมทุกประเด็นเป็นไปตามเป้าหมาย
แหล่งข้อมูล/หลักฐาน
1. แผนการจัดการเรียนรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
2. บันทึกกิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)
3. แหล่งเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกโรงเรียน
4. รายงานสรุปโครงการ ปีงบประมาณ 2563 – 2564
3) มีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก
เป้าหมาย
ระดับ 5 (ยอดเยี่ยม) สถานศึกษามีผลการดำเนินงานชัดเจน ครบถ้วนทั้ง 5 ประเด็น
โรงเรียนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ครูผู้สอนมีการบริหารจัดการชั้นเรียนโดยเน้นการมี
ปฏิสัมพันธ์เชิงบวก ให้เด็กรักครู ครูรักเด็ก เด็กรักที่จะเรียนรู้ สามารถเรียนรู้ร่วมกันอย่างมีความสุข โดยใช้
กระบวนการ PDCA ดังต่อไปนี้
กระบวนการดำเนินงาน
ขั้นตอนที่ 1 วิเคราะห์กลยุทธ์พันธกิจ เป้าประสงค์และแนวทางการพัฒนาของโรงเรียนที่เกี่ยวข้องกับการ
บริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก วางแผนการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวก แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ ด้าน วิชาการ ด้าน
คุณลักษณะอันพึงประสงค์และความสามารถพิเศษ
ขั้นตอนที่ 2 โรงเรียนดำเนินโครงการ/กิจกรรมในการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกพัฒนาด้านวิชาการ
ในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ พัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ โดยโครงการระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน โครงการ
ทัศนศึกษา และโครงการโรงเรียนคุณธรรม และพัฒนาความสามารถพิเศษและโครงการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนา
ผู้เรียน
ขั้นตอนที่ 3 โรงเรียนมีการประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน และประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอน
ขั้นตอนที่ 4 นำข้อมูลจากการดำเนินการและผลการประเมินมารายงานเพื่อนำมาใช้พัฒนาการการ
ทำงานต่อไป
ผลการดำเนินงาน
จากการดำเนินการบริหารการจัดการชั้นเรียนเชิงบวก ส่งผลต่อผู้เรียน ดังนี้
ประเด็นที่ 1 มีการจัดการโครงสร้างการบริหารจัดการในห้องเรียน โดยแบ่งเป็นฝ่ายงานต่าง ๆ เช่น
หัวหน้า รองหัวหน้า ฝ่ายวิชาการ ฝ่ายเหรัญญิก ฝ่ายวินัย ฝ่ายบริการ เป็นต้น
ประเด็นที่ 2 มีการวางแผนจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ โดยครูผู้สอนได้มีการจัดเตรียมแผนการ
สอนประจำรายวิชา มีการแจ้งคำประมวลรายวิชาให้ผู้เรียนได้ทราบ